วันเสาร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2554

วิธีทำน้ำข้าวกล้องงอก

ทำน้ำข้าวกล้องงอก คุณค่าทางอาหารที่น่าทำเป็นอาชีพ
เชื่อหรือไม่ว่าข้าวกล้องที่เราเห็นกันอยู่โดยทั่วไปนั้น เมื่อนำไปผ่านกรรมวิธีแช่น้ำให้ส่วนของจมูกข้าวงอกออกมา กลับยิ่งเพิ่มคุณค่าของข้าวให้เพิ่มขึ้นกว่าเดิม คุณค่าที่เพิ่มนั้นก็คือสาร กาบา หรือ GABA ซึ่งนักวิจัยไทยได้ค้นพบนวัตกรรมใหม่ผลิตข้าวกล้องงอกออกมาระยะหนึ่งแล้ว ?กาบา? นั้นเป็นสารที่เกิดขึ้นในเมล็ดข้าว ขณะที่ข้าวเริ่มงอก แตกตุ่มรากสีขาวบริเวณจมูกข้าว ช่วงนี้จะมีสารกาบามาก และจะหายไปเมื่อข้าวสร้างใบและรากออกมา กาบาเป็นสารที่เกี่ยวข้องกับการส่งสัญญาณของระบบประสาท จากประสาทต่อประสาทในสมองส่วน กลางและบริเวณประสาทตา (re-tina) มีคุณสมบัติเป็นสารที่ช่วยผ่อนคลาย ทำให้จิตใจสงบ ลดความเครียด ลดความกังวล และลดอาการชัก สารกาบายังกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต และมีบทบาทสำคัญในการ เผาผลาญไขมันเพื่อให้พลังงานและสร้างกล้ามเนื้ออีกด้วย

น้ำข้าวกล้องงอก ทำทานเองได้ไม่ยาก?มีวิธีดังนี้ครับ

1.ต้องนำข้าวกล้องไปแช่น้ำราว 48-72 ชั่วโมงหรือ2-3วันในหม้อแช่ โดยมีการควบคุมอุณหภูมิการไหลเวียนน้ำ ความดัน และความเป็นกรดด่างของน้ำ เพื่อให้ความชื้นจากน้ำไปกระตุ้นให้เมล็ดข้าวงอกและเปลี่ยนกรดกลูตามิกไปเป็นสารกาบาอันเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด?ต่อมา?เมื่อได้ข้าวกล้องงอกในขั้นตอนนี้แล้วก็ต้องทำให้ข้าวกล้องงอกหยุดการงอกต่อไป

2.อบแห้งให้มีความชื้นต่ำกว่า 14% ในหม้ออบแห้ง จากนั้นจึงบรรจุลงในถุงสุญญากาศ?ทั้งนี้ ข้าวกล้อง ที่สามารถนำมาแช่น้ำให้เกิดการงอกได้ดีนั้นจะต้องเป็นข้าวกล้องที่ผ่านการกะเทาะเปลือกมาไม่ เกิน 2?สัปดาห์

3.เมื่อได้ข้าวกล้องงอกเรียบร้อยแล้ว หากใครอยากจะทำ ?น้ำข้าวกล้อง งอก? ก็ไม่ยาก?นำไปแช่น้ำทิ้งไว้ 3-5 ชั่วโมง ให้ข้าวกล้องงอกเป็นตุ่มเล็ก ๆ บริเวณจมูกข้าว?ก็นำไป

4.หุงต้มจนเดือดพล่าน?จากนั้นก็ใช้ผ้าขาวบางหรือตะแกรงกรองน้ำข้าวมารับประทานได้ทันที

ปรุงรสตามชอบ
เท่านี้ก็ได้สูตรทำ น้ำข้าวกล้องงอก?ไว้ทานกันแล้ว

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

กินอย่างไรไม่ให้แก่และอายุยืน


อาหารการกิน เป็นส่วนสำคัญของชีวิต วิธีการกินอาหารของเรามีผลต่อสุขภาพของเราทั้งเรื่องของ
รูปร่าง ผิวพรรณ และการเจ็บป่วยของร่างกาย ซึ่งการกินอาหารของเรามีผลต่อรูปลักษณ์และการช่วยยืดอายุได้ แล้วเราควรจะมีวิธีกินหรือทานอาหารอย่างไรที่จะทำให้มีอายุยืนและไม่แก่

คำตอบคือกินสายกลาง กินสายกลางคือกินมื้อเช้าและมื้อเที่ยง งดมื้อเย็น
เปรียบตัวเราเป็นรถยนต์ ตื่นเช้ามาต้องเติมน้ำมันก่อน
หรือกินมื้อเช้า รถจึงจะวิ่งได้ ถึงเที่ยงน้ำมันยังไม่หมด เติมอีกครั้ง
ถึงเย็นก่อนนอนก็ยังไม่หมดพิสูจน์ได้ดังนี้

สมมติกินไข่ลวก 1 ฟองโตๆ มีไข่แดงหนัก 50 กรัม ในไข่แดงมีคลอเลสเตอรอล 1 กรัม
ให้พลังงาน 9 แคลอรี่ ฉะนั้น 50 กรัม ให้พลังงาน 450 แคลอรี่
จะต้องออกกำลังกายเพื่อใช้พลังงานนี้ โดยขี่จักรยานตั้งแรงต้านไว้ 1.3 ก.ก.
ความเร็วที่ปั่นบันไดจักรยาน 60 รอบต่อนาที ขี่อยู่นาน 60 นาที
จะเหนื่อยหอบ เหงื่อไหลท่วมตัว แต่ใช้พลังงานไปเพียง 300 แคลอรี่
ไข่ใบเดียวใช้ไม่หมด ฉะนั้นถ้ากินมื้อเช้า มื้อเที่ยง จนถึงเย็น
พลังงานยังเหลือแน่นอน ไม่จำเป็นต้องไปเติมอีก
เพราะเวลานอนร่างกายจะนำพลังงานที่เหลือใช้ไปเก็บในที่ต่างๆ โดยตับเป็นผู้ทำงานนี้
ถ้าพลังงานเหลือมาก การเอาไปเก็บในที่ต่างๆ ก็มาก ทำให้อ้วน
และแน่นอนถ้าเก็บไม่หมดโดยเฉพาะพวกไขมันตัวโตๆ จะต้องค้างอยู่ในหลอดเลือด
ถ้าค้างสะสมมากเท่าใด รูหลอดเลือดก็จะเล็กลงทุกวัน
เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆได้น้อยลง อวัยวะทั้งหลายก็จะเสื่อมสภาพเร็วขึ้นหรือแก่เร็วขึ้น
ถ้าวันไหนอุดตัน เช่น ถ้าตันที่สมอง จะกลายเป็นคนพิการอัมพาตครึ่งซีก
ถ้าอุดตันที่ไต ต้องล้างไต เปลี่ยนไต
ถ้าตันที่ขา อาจต้องตัดขาทิ้ง
ถ้าตันที่กล้ามเนื้อหัวใจ ก็จะไม่มีโอกาสได้สั่งลาใคร
ฉะนั้นการกินมื้อเย็นจึงเป็นมื้อที่เร่งกระบวนการเสื่อมถึงเสียชีวิตให้เร็วขึ้นไปอีก
มื้อเย็นจึงเป็นมื้ออันตราย เป็นมื้อตายผ่อนส่ง ยิ่งกินมื้อเย็นมาก ยิ่งผ่อนส่งมาก
ตายเร็ว ถ้าไม่กินมื้อเย็น ก็จะแก่ช้า เสื่อมช้า อายุยืน

การไม่กินอาหารมื้อเย็นเป็นเรื่องที่ต้องเอาชนะใจตัวเองอย่างมาก
ถ้าใครทำได้จะตัดทั้งกิเลส สุขภาพดี อายุยืน และมีสมาธิดี
ความมุ่งมั่นสูง ได้ประโยชน์ทั้งกายและใจ แต่ท่านต้องฝึกกระเพาะให้เกิดความเคยชิน
วิธีฝึกมี 4 วิธี
1. ค่อยๆ ลดปริมาณอาหารมื้อเย็น ทีละน้อยๆ เช่น ลดกินข้าวจาก 2 จาน เหลือ1 1/2 จาน สัก 3-4 เดือน โดยมีข้อแม้ว่าหลังอาหารเย็นแล้ว ห้ามกินอาหารใดๆ ทั้งนั้น ยกเว้น น้ำเปล่า พอกระเพาะชินแล้วลดเหลือ 1 จาน ต่อไปครึ่งจาน ต่อไปไม่กินข้าวเลยกินแต่กับ ต่อไปกินผักผลไม้ สุดท้ายงดอาหารเย็น
2. ร่นเวลากินอาหารเย็น เช่น จาก 2 ทุ่มมากิน 1 ทุ่ม ต่อไปเลื่อนเป็น 6 โมงเย็น 5 โมงเย็น 4 โมงเย็น 3 โมงเย็น ฯ
3. กินเม็ดแมงลักแทนมื้อเย็น ใช้เม็ดแมงลัก 2 ช้อนโต๊ะใส่ในถ้วยน้ำแกงหรือน้ำเปล่า
คนแล้วดื่มทันที ดื่มน้ำตามอีก 4-5 แก้ว
4. กินมังสะวิรัตมื้อเย็น การกินผักผลไม้ถือว่าเป็นอาหารไม่มีพิษ ร่างกายจะได้พักไม่ต้องทำลายพิษของอาหารเนื้อสัตว์
พิษที่สะสมไว้ก่อนก็จะถูกตับ ไต กำจัดหมดไปเองได้
ร่างกายมีเวลาถึง 18 ช.ม. กำจัดพิษที่ติดมากับมื้อเช้า มื้อเที่ยงได้ทัน
ฉะนั้นการไม่กินอาหารเย็น จึงเป็นเวลาที่ตับ ไต จะสามารถกำจัดสารพิษจากอาหารมื้อเช้า
และเที่ยงได้หมด ร่างกายจึงบริสุทธิ์ทุกวัน

ท่านทราบแล้วใช่ใหมว่า ทำไมสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงบัญญัติให้พระฉันเพียง 2 มื้อ
คือ มื้อเช้าและมื้อเพล


แค่หายใจเป็นก็ทำให้ชีวิตมีความสุข

ทำอย่างไรคนเราจึงจะสามารถมีความสุขได้ตลอดโดยไม่ต้องพึ่งพาสิ่งภายนอก พุทธศาสนามีวิธีการมากมายที่จะทำให้คนเราได้เข้าถึงความสุขแท้จริง ขอเสนอวิธีง่ายๆ ที่ใครๆ ก็ทำได้ เป็นเทคนิคฝึกหายใจเพื่อสกัดสารเอนดอร์ฟินส์หรือสารแห่งความสุขภายในร่างกายของเราเอง โดยไม่ต้องไปพึ่งพาอบายมุขใดๆ เป็นเคล็ดลับจาก พระไตรปิฎก
เคล็ดลับจากพระไตรปิฎก ในพระไตรปิฎกอันเป็นแหล่งรวบรวมคำสอนของพระพุทธเจ้า หากเราได้อ่านคำสอนเกี่ยวกับการฝึกสติด้วยลมหายใจ(อานาปานสติ) เราจะพบคำสอนที่กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่าหากคนเราสามารถฝึกตนเองให้สามารถรู้สึกว่าลมหายใจของตนเองมีการเข้าออกภายในร่างกายได้อย่างชัดเจน และ สามารถทำลมหายใจ ของตนให้ละเอียดประณีต ลมหายใจอันละเอียดอ่อนนั้นก็จะทำให้ ร่างกายของเราหรือผู้ที่ฝึกเกิดความสุขอย่างประณีต รู้สึกโปร่งเบา สบายใจ เนื่องจากร่างกายหลั่งสาร เอนดอร์ฟินส์ ออกมา
ทำอย่างไรเราจึงจะสามารถฝึกฝนตนเองจนสามารถรู้สึกถึงลมหายใจที่เข้าออกได้ชัดเจนราวกับรู้สึกว่ามีลูกสูบชักเข้าออกอยู่ในระบบหายใจของเรา หายใจยาวก็รู้ว่าหายใจยาว หายใจสั้นก็รู้ว่าหายใจสั้น และสามารถทำลมหายใจให้ละเอียดประณีต หากเราทำได้ตามหลักข้างต้นเราก็จะพบกับความสุข คือ รู้สึกร่างกายสบาย โปร่งเบา (กายสังขารระงับ) เป็นความสุขที่ไม่ต้องไปพึ่งพาสิ่งภายนอก และแน่นอน...หากเราทำได้ตลอด ร่างกายของเราก็จะมีความ สุขตลอดเวลา ต่อไปคือเทคนิคการฝึกหายใจที่สามารถทำให้เรารู้สึกถึงลมหายใจได้อย่างชัดเจน เราสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ปฏิบัติได้ง่ายสบายใจไม่ต้องมีพิธีรีตองแต่อย่างใด

๑. ขั้นฝึกหายใจ
๑. ทุกๆเช้า ฝึกควบคุมลมหายใจเพื่อเตรียมพร้อมที่จะดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขตลอดวัน อย่างน้อย
สัก ๑๐-๓๐ นาที
๒. จะฝึกท่านั่งหรือนอนก็ได้ ตามสบาย (ขอแนะนำให้ปฏิบัติท่านั่ง จะรู้สึก มั่นคงดีกว่า )
๓. ยิ้มน้อย ๆ อย่างมีความสุข
๔. ยกมือขวาขึ้นมารอที่ปลายจมูก
๕. หายใจเข้าลึก ๆ อย่างอ่อนโยน พร้อมกับเคลื่อนมือช้า ๆ จากปลายจมูกลงไปตามลำคอ ภาวนาในใจว่า "หายใจเข้า..เบา..บาง...ง " ในขณะที่เคลื่อนมือลงไปให้จินตนาการสมมุติว่ามือของเรากำลังนำพาลมหายใจอันละเอียดอ่อนตามมือไปเรื่อย ๆ เคลื่อนมือลงมาถึงหน้าอก และในที่สุดมือก็พาลมหายใจมาถึงที่สะดือ
๖. หายใจออกยาว ๆ อย่างผ่อนคลาย พร้อมกับเคลื่อนมือช้า ๆ จากสะดือขึ้นมา ภาวนาในใจว่า "หายใจออก สบาย ใจ " ในขณะที่เคลื่อนมือขึ้นมา ให้จินตนาการสมมุติว่ามือของเรากำลังนำพาลมหายใจอันละเอียดอ่อนตามขึ้นมาจากสะดือขึ้นมาถึงหน้าอกผ่าน ลำคอและในที่สุดก็พาลมหายใจออกมาที่ปลายจมูก จากนั้นให้จินตนาการว่าลมหายใจของเราแผ่กระจายลมหายใจไปทุกทิศทางอย่างไม่มีขอบเขต
๗. ให้เคลื่อนไหวมือพาลมหายใจเข้าออกอย่างนี้อย่างช้า ๆ (ข้อที่๔-๕) กลับไปมา พยายามทำความรู้สึกว่าลมหายใจของเราช่างมีความเบาบางละเอียดอ่อนจริงๆ และให้ศึกษาว่าเมื่อเราทำลมหายใจให้ละเอียดประณีตแล้วจะมีผลต่อร่างกายอย่างไรบ้าง
๘ .หากเราปฏิบัติได้ถูกต้อง เราจะรู้สึกปีติปราโมทย์ ร่างกายสงบระงับ มีความสุขกาย สุขใจ รู้สึกผ่อนคลาย ทำให้มีความพร้อมที่จะ ดำเนินชีวิตประจำวันด้วยความมั่นใจ
๙ . หากเราได้รับประโยชน์จากการปฏิบัติ และ ต้องการจะขอบคุณใครสักคน ขอให้เรานึกถึงรอยยิ้มของพระพุทธองค์ เพราะเทคนิคเหล่านี้นำมาจากคำสอนของพระพุทธเจ้าในพระไตรปิฎก
๑๐.หากเราคิดจะตอบแทนคุณความดีของพระพุทธองค์ เราสามารถทำได้ ด้วยการช่วยกันศึกษาคำสอนของพระพุทธองค์โดยตรงจากพระไตรปิฎก แล้วนำไปปฏิบัติประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน เพียงเท่านี้ก็ถือว่าได้เป็นการตอบแทนคุณความดีที่พระพุทธองค์ทรงพอใจ (ปฏิบัติบูชา)

๒. ขั้นประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
๑. ในขณะที่ประกอบกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน ให้เราพยายามตามลมหายใจเข้าออกอย่างช้า ๆ ให้รู้สึกถึงลมหายใจเข้าออก ของเราได้อย่างชัดเจนเหมือนกับว่ากำลังมีสิ่งหนึ่งแล่นเข้าออกในทางเดินหายใจตลอดเวลา ยามใดที่เรารู้สึกว่าตามลมหายใจได้ไม่ชัด ให้ใช้มือเคลื่อนไหวช่วยนำลมหายใจสักเล็กน้อย ร่างกายจะก็สามารถรู้สึกถึงลมหายใจเข้าออกได้ทันที
๒. ให้พยายามภาวนาในใจในขณะหายใจเข้าว่า "หายใจเข้าเบาบาง" และ ในขณะหายใจออกว่า"หายใจออกสบายใจ" หากเรา สามารถควบคุมลมหายใจได้ตลอดทั้งวันเช่นนี้ ลมหายใจอันละเอียดอ่อนจะปรุงแต่งให้ร่างกายของเราสงบระงับ ทำให้เราดำเนินชีวิตไปตลอดทั้งวันอย่างมีความสุข
๓. ยามใดที่ได้พบกับสิ่งที่ไม่พึงปรารถนาเช่น ได้ยินได้พบเห็นสิ่งที่ไม่ชอบใจ ผิดหวัง เครียด กดดัน เบื่อหน่าย หรือมีสิ่งภายนอกมายั่วยุรบกวนจิตใจ เราจะรู้สึกตัวได้อย่างรวดเร็ว เพราะ ลมหายใจของเราจะสั้น และ หยาบลง ร่างกายจะรู้สึกไม่สบายทันทีในการแก้ปัญหา ให้เราหายใจให้ลึก และละเอียดเบาบางที่สุด เราจะพบด้วยตนเองว่าการควบคุมลมหายใจจะ ช่วยให้เรา สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของตนเองให้เป็นปรกติได้อย่างง่ายดาย ไม่ทุกข์ใจง่าย ๆ เหมือนแต่ก่อน
๔.ในการเกี่ยวข้องกับโลกภายนอก เราต้องพบปะผู้คน และ ได้รับอิทธิพลจากสิ่งกระตุ้นเร้าต่าง ๆ มากมายรอบตัว หากเราไม่สำรวมระวัง ความทุกข์จะเข้ามาได้โดยง่ายทางหู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ ดังนั้นเราจึงควรฝึกคิดมองโลกให้เป็นกุศล คือ มองอย่างฉลาด เกื้อกูลต่อสุขภาพจิต รู้จักคิด คิดเป็น ควบคู่ไปด้วย
ขั้นตอนการปฏิบัติทั้งหมดที่แนะนำมานี้เป็นเพียงส่วนเล็กน้อยในพระพุทธศาสนาเท่านั้น ยังมีสิ่งที่เราต้องเรียนรู้ด้านอื่นๆ อีกมากเพื่อให้มีพัฒนาการที่ครบรอบด้าน ได้แก่ การใช้ชีวิตอย่างปรกติ มีพฤติกรรมทางสังคมที่ดี (ศีล) การฝึกฝนจิตใจให้มีสุขภาพจิตดี มีสมรรถภาพจิตดี สมควรแก่การงาน (สมาธิ) ฝึกคิดเป็น คิดถูกต้อง คิดเป็นกุศล ฝึกมองเห็นสภาวะที่เป็นจริงตามธรรมชาติ(ปัญญา)
ดังนั้นเราจึงควรศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมต่อไป ไม่ควรหยุดนิ่ง